วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

แนวโน้มมนุษย์ทองคำ HR ปี 2008

แนวโน้มมนุษย์ทองคำ HR ปี 2008 ค่าตัวพุ่ง-นักสร้างแบรนด์-ผู้นำกู้วิกฤต

ต้องยอมรับว่าบทบาทของฝ่าย human resource : HR ในปัจจุบันค่อนข้างมีความเปลี่ยนแปลงมาก ทั้งในเรื่องของการเป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์กับผู้นำองค์กร หรือจำเป็นต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพราะอย่างที่ทราบองค์กรในปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจค่อนข้างรุนแรง ดังนั้นการที่องค์กรหนึ่งองค์กรใดคิดที่จะขยายโปรเจ็กต์การลงทุนในประเทศต่างๆ ฝ่าย HR จึงจำต้องเป็นหน่วยงานแรกๆ ในการสรรหาพนักงานเพื่อส่งคนไปยังประเทศต่างๆ เหล่านั้น เพียงแต่ช่วงผ่านมานับแต่ปี 2005-2007 ฝ่าย HR อาจทำหน้าที่เพียงหน่วยงานสนับสนุนหรือทำงานเฉพาะแต่งานบริหารและเอกสารเท่านั้นทว่าในปี 2008 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า "รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข" ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบอกว่า ฝ่าย HR จะต้องเป็นนักประชาสัมพันธ์และนักการสื่อสาร (PR & communicator)และจะต้องเป็นนักการตลาดและนักสร้าง แบรนด์ (marketer & brand maker) รวมทั้งยังจะต้องเป็นนักตรวจสอบคุณภาพสำหรับงาน HR (HR auditor) ด้วยสำคัญไปกว่านั้น "รศ.ดร.ศิริยุพา" ยังมองว่าแนวโน้มและทิศทางในการบริหารพัฒนาบุคลากรและองค์กรในปี 2008 บทบาทของฝ่าย HR จะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารคน ซึ่งประกอบด้วยการสรรหาและคัดเลือกพนักงานที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์ของนายจ้าง, การสรรหาพนักงานเชิงรุก และจะต้องใช้กระบวนการสรรหาและเครื่องมือที่เป็นระบบและวัดผลได้ นอกจากนั้นยังจะต้องใช้ outsource สำหรับตำแหน่งบริหารและงานทั่วไปส่วนสำหรับเรื่องการพัฒนาบุคลากร ฝ่าย HR ควรที่จะสร้างศูนย์ประเมิน (assesment center) และมีแนวทางในการพัฒนาอาชีพ รวมทั้งยังจะต้องมีการโค้ชชิ่งผู้นำด้วย เพราะปัญหาเท่าที่พบในปัจจุบัน กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้บริหารระดับกลางไม่สามารถก้าวข้ามขึ้นไปเป็นผู้นำในระดับสูงได้ เนื่องจากขาดประสบการณ์และทักษะเชิงการบริหาร อีกอย่างในระบบการประเมินผล ฝ่าย HR จะต้องสร้างระบบวัดผลที่เป็นมาตรฐาน และจะต้องมีการวัดผลงานของพนักงานด้วย นอกจากนั้นในเรื่องของระบบผลตอบแทน เราจะต้องสร้างระบบผลตอบแทนที่เน้นผลงานโดยเฉพาะ ไม่ใช่เน้นเรื่องอายุงาน และจะต้องสร้างระบบผลตอบแทนให้มีความยืดหยุ่นสูงทั้งนั้นเพราะ "รศ.ดร.ศิริยุพา" มองว่าเนื่องจากสถานการณ์ธุรกิจโลกในปี 2007 ต่างส่งผลต่อกระแสการเมือง ทั้งในเรื่องของภัยผู้ก่อการร้าย การแปรรูปองค์กรรัฐ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงาน และการเกิดเขตเศรษฐกิจยุคใหม่ อย่างจีน อินเดีย และยุโรปตะวันออก ที่ล้วนส่งผลต่อสถานการณ์ธุรกิจโลกทั้งสิ้น
เหตุนี้เองจึงทำให้ในเรื่องของกระแสการเมือง จึงไปเชื่อมโยงกับกระแสเศรษฐกิจ กระแสสังคม และกระแสเทคโนโลยี ดังนั้นในประเด็นที่ท้าทายเช่นนี้ ฝ่าย HR ในปี 2008 จึงต้องเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบเปิด และมีพลวัตสูง การควบคุมต้นทุน การบริหารพนักงานหลากเชื้อชาติ การต่อสู้เพื่อสรรหาและรักษาคนเก่ง การส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีให้แก่พนักงาน การวางแผนการสืบทอดตำแหน่งชิงรุก และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ "กุลส์ชานห์น ซิงห์" ผู้บริหารของบริษัท เฮวิท (เอเชีย) จำกัด จึงมองสมทบว่า ในปี 2008 นี้ฝ่าย HR จะต้องเป็นหางเสือที่ดี เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงเป็นกัปตันแล้ว ดังนั้นฝ่าย HR จึงต้องคำนึงถึงผล 4 อย่างอันประกอบด้วยหนึ่ง talent supply สอง human capital research & developmentสาม ความสนใจในเรื่องของ corporate social responsibility : CSR สี่ ผลของการปฏิบัติงาน
ซึ่งทุกข้อจะต้องเชื่อมโยงและมีความสัมพันธ์กัน เพราะเทรนด์ของ HR ในอนาคตจะต้องมี ความรอบรู้
มากขึ้น และจะต้องเข้าใจในธุรกิจของตัวเองอย่างดี รวมถึงยังจะต้องมองธุรกิจของคู่แข่งด้วยแต่ปัญหาที่พบคือในกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ (gen-X) ที่อายุประมาณ 30-42 ปี ไม่สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารในระดับสูงได้ เนื่องจากมีการขาดช่วงต่อในคนรุ่นเบบี้ บูมส์ คืออายุระหว่าง 43-60 ปี รวมถึงประสบการณ์การทำงาน การตัดสินใจ ประกอบกับกลุ่มพนักงานรุ่นใหม่ (gen-Y) คือคนที่อายุต่ำกว่า 30 ปีลงไปจนถึงปริญญาตรี เริ่มมีปัญหามากขึ้น
เพราะคนเหล่านี้จบการศึกษามาแบบแคระแกร็น ซึ่งแทบไม่มีความสามารถในการทำงานเลย รวมทั้งทัศนคติต่อการทำงานยังมองเรื่องเงินและสวัสดิการเป็นปัจจัยหลัก "กุลส์ชานห์น ซิงห์" บอกว่า กลุ่มพนักงานรุ่นใหม่มีอยู่ประมาณ 18-29% ขององค์กรทั้งหมดที่อยู่ในประเทศไทยฉะนั้นต่อปัญหาเรื่องการขาดแคลนผู้นำองค์กร จึงกลายเป็นปัญหาสำคัญ ยิ่งเฉพาะต่อประเทศสิงคโปร์ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รวมถึงประเทศไทยในอนาคตด้วยผลเช่นนี้เองจึงทำให้ "บุปผาวดี โอวรารินทร์" ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (เอเชีย) บริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) จำกัด จึงมองเสริมว่า ตอนนี้กลุ่มตำแหน่งหลักๆ ในการขับเคลื่อนองค์กรกำลังประสบปัญหา ทั้งในเรื่องของการสรรหาคนมานั่งประจำองค์กรและการรักษาคนเก่ง คนดีซึ่งเรื่องนี้สามารถมองได้หลายมุม มุมหนึ่งเป็นมุมของนายจ้างที่มองว่าการที่มีคนอยากมาทำงานกับองค์กรของตนเป็นเพราะองค์กรของตนจ่ายผลตอบแทนสูง มีโอกาสแสดงความสามารถ แต่ในอีกมุมหนึ่ง หากองค์กรใดมีธรรมชาติองค์กรที่ไม่ดี ทำงานแล้วไม่มีความมั่นคง หรือไม่มีการโปรโมตก็ไม่มีใครอยากทำด้วยที่สำคัญคนที่ลาออกส่วนใหญ่มักมองเรื่องเงินเดือน เรื่องของความเครียด และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง และจากข้อมูลที่สำรวจ ปรากฏว่าประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลี และมาเลเซีย ค่อนข้างมีความกดดันในการทำงานสูงแต่กระนั้นในเรื่องของทิศทางของเงินเดือน ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักต่อการทำงานของพนักงาน ทุกคน "กุลส์ชานห์น ซิงห์" ก็มองจากข้อมูลที่ เฮวิทสำรวจจาก 120 บริษัท ในประเทศไทย และบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ก็พบข้อมูลว่าในปี 2008 ภาพรวมของเงินเดือนขององค์กรทั้งหมดในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 6.3% โดยแบ่งเป็นผู้บริหารระดับต้นถึงกลางขึ้นประมาณ 6.7% ผู้บริหารระดับกลางถึงสูง ประมาณ 6.3% ทั้งนั้นขึ้นกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศด้วย นอกจากนั้น "กุลส์ชานห์น ซิงห์" ยังระบุข้อมูลของเฮวิทที่เกี่ยวเนื่องกับเงินเดือนของกลุ่ม ธุรกิจต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2008 ว่า กลุ่มธุรกิจที่เงินเดือนขึ้นสูงสุดคือกลุ่มธุรกิจไอที คือประมาณ 7.4% กลุ่มธุรกิจคอนซูเมอร์ 7.2% กลุ่มธุรกิจรถยนต์ 6.9% กลุ่มธุรกิจการเงินการธนาคาร 5.8% กลุ่มธุรกิจสิ่งพิมพ์ประมาณ 6% โดยเฉลี่ยทุกๆ องค์กรในประเทศไทยจะได้รับโบนัสในต้นปี 2008 ประมาณ 1 เดือนเป็นอย่างต่ำ ซึ่งไปสอดคล้องกับข้อมูลที่ "บุปผาวดี" จากบริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) สำรวจทิศทางของเงินเดือนในปี 2008 ที่สำรวจจาก 996 บริษัท 22 ประเทศ จากทั้งหมด 5 ทวีป ปรากฏว่าทิศทางของเงินเดือนในเอเชีย-แปซิฟิก พนักงานในองค์กรต่างๆ จะมีเงินเดือนเพิ่มขึ้นประมาณ 5%แคนาดา 3% ยุโรป 3% ละตินอเมริกา 4.5% และอเมริกาประมาณ 4.6% ซึ่งทั้งหมดนี้ ข้อมูลจากการสำรวจชี้ชัดว่าเงินเดือนที่จ่ายให้กับ พนักงานในองค์กรต่างๆ ในโลกนั้นจะจ่ายตาม
ความสามารถของพนักงานมากที่สุดผลเช่นนี้เองจึงทำให้มนุษย์ทองคำ HR ที่ทำงานให้กับองค์กรในประเทศและองค์กรข้ามชาติในปี 2008 จึงมีค่าตัวที่ค่อนข้างกระโดด เพราะจากข้อมูลที่ "บุปผาวดี" ของวัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) ระบุอย่างคร่าวๆ ว่า ค่าตัวของผู้อำนวยการฝ่าย HR สำหรับองค์กรในไทยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาท/เดือน ส่วนผู้อำนวยการฝ่าย HR ขององค์กรต่างชาติน่าจะอยู่ที่ประมาณ 240,000 บาท/เดือน ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลฝ่าย HR ขององค์กรต่างชาติน่าจะอยู่ที่ประมาณ 500,000 บาท/เดือน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง
ฉะนั้นแนวโน้มและทิศทางในการบริหารพัฒนาบุคลากรและองค์กรในปี 2008 จึงเป็นแนวโน้มและทิศทางที่น่าสนใจสำหรับองค์กรในประเทศและองค์กรต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยแต่ทั้งนั้นคงขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยว่า เมื่อมีรัฐบาลใหม่ในปี 2008 จริงๆ แล้วเขาจะบริหารบ้านเมืองให้ไปในทิศทางอย่างที่มีการสำรวจกันจริงๆ หรือเปล่าคงต้องมาดูกันอีกที ?
ค่าตัวพุ่ง-นักสร้างแบรนด์-ผู้นำกู้วิกฤต

ต้องยอมรับว่าบทบาทของฝ่าย human resource : HR ในปัจจุบันค่อนข้างมีความเปลี่ยนแปลงมาก ทั้งในเรื่องของการเป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์กับผู้นำองค์กร หรือจำเป็นต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพราะอย่างที่ทราบองค์กรในปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจค่อนข้างรุนแรง ดังนั้นการที่องค์กรหนึ่งองค์กรใดคิดที่จะขยายโปรเจ็กต์การลงทุนในประเทศต่างๆ ฝ่าย HR จึงจำต้องเป็นหน่วยงานแรกๆ ในการสรรหาพนักงานเพื่อส่งคนไปยังประเทศต่างๆ เหล่านั้น เพียงแต่ช่วงผ่านมานับแต่ปี 2005-2007 ฝ่าย HR อาจทำหน้าที่เพียงหน่วยงานสนับสนุนหรือทำงานเฉพาะแต่งานบริหารและเอกสารเท่านั้นทว่าในปี 2008 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า "รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข" ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบอกว่า ฝ่าย HR จะต้องเป็นนักประชาสัมพันธ์และนักการสื่อสาร (PR & communicator)และจะต้องเป็นนักการตลาดและนักสร้าง แบรนด์ (marketer & brand maker) รวมทั้งยังจะต้องเป็นนักตรวจสอบคุณภาพสำหรับงาน HR (HR auditor) ด้วยสำคัญไปกว่านั้น "รศ.ดร.ศิริยุพา" ยังมองว่าแนวโน้มและทิศทางในการบริหารพัฒนาบุคลากรและองค์กรในปี 2008 บทบาทของฝ่าย HR จะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารคน ซึ่งประกอบด้วยการสรรหาและคัดเลือกพนักงานที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์ของนายจ้าง, การสรรหาพนักงานเชิงรุก และจะต้องใช้กระบวนการสรรหาและเครื่องมือที่เป็นระบบและวัดผลได้ นอกจากนั้นยังจะต้องใช้ outsource สำหรับตำแหน่งบริหารและงานทั่วไปส่วนสำหรับเรื่องการพัฒนาบุคลากร ฝ่าย HR ควรที่จะสร้างศูนย์ประเมิน (assesment center) และมีแนวทางในการพัฒนาอาชีพ รวมทั้งยังจะต้องมีการโค้ชชิ่งผู้นำด้วย เพราะปัญหาเท่าที่พบในปัจจุบัน กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้บริหารระดับกลางไม่สามารถก้าวข้ามขึ้นไปเป็นผู้นำในระดับสูงได้ เนื่องจากขาดประสบการณ์และทักษะเชิงการบริหาร อีกอย่างในระบบการประเมินผล ฝ่าย HR จะต้องสร้างระบบวัดผลที่เป็นมาตรฐาน และจะต้องมีการวัดผลงานของพนักงานด้วย นอกจากนั้นในเรื่องของระบบผลตอบแทน เราจะต้องสร้างระบบผลตอบแทนที่เน้นผลงานโดยเฉพาะ ไม่ใช่เน้นเรื่องอายุงาน และจะต้องสร้างระบบผลตอบแทนให้มีความยืดหยุ่นสูงทั้งนั้นเพราะ "รศ.ดร.ศิริยุพา" มองว่าเนื่องจากสถานการณ์ธุรกิจโลกในปี 2007 ต่างส่งผลต่อกระแสการเมือง ทั้งในเรื่องของภัยผู้ก่อการร้าย การแปรรูปองค์กรรัฐ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงาน และการเกิดเขตเศรษฐกิจยุคใหม่ อย่างจีน อินเดีย และยุโรปตะวันออก ที่ล้วนส่งผลต่อสถานการณ์ธุรกิจโลกทั้งสิ้น
เหตุนี้เองจึงทำให้ในเรื่องของกระแสการเมือง จึงไปเชื่อมโยงกับกระแสเศรษฐกิจ กระแสสังคม และกระแสเทคโนโลยี ดังนั้นในประเด็นที่ท้าทายเช่นนี้ ฝ่าย HR ในปี 2008 จึงต้องเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบเปิด และมีพลวัตสูง การควบคุมต้นทุน การบริหารพนักงานหลากเชื้อชาติ การต่อสู้เพื่อสรรหาและรักษาคนเก่ง การส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีให้แก่พนักงาน การวางแผนการสืบทอดตำแหน่งชิงรุก และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ "กุลส์ชานห์น ซิงห์" ผู้บริหารของบริษัท เฮวิท (เอเชีย) จำกัด จึงมองสมทบว่า ในปี 2008 นี้ฝ่าย HR จะต้องเป็นหางเสือที่ดี เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงเป็นกัปตันแล้ว ดังนั้นฝ่าย HR จึงต้องคำนึงถึงผล 4 อย่างอันประกอบด้วยหนึ่ง talent supply สอง human capital research & developmentสาม ความสนใจในเรื่องของ corporate social responsibility : CSR สี่ ผลของการปฏิบัติงาน
ซึ่งทุกข้อจะต้องเชื่อมโยงและมีความสัมพันธ์กัน เพราะเทรนด์ของ HR ในอนาคตจะต้องมี ความรอบรู้
มากขึ้น และจะต้องเข้าใจในธุรกิจของตัวเองอย่างดี รวมถึงยังจะต้องมองธุรกิจของคู่แข่งด้วยแต่ปัญหาที่พบคือในกลุ่มผู้บริหารรุ่นใหม่ (gen-X) ที่อายุประมาณ 30-42 ปี ไม่สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารในระดับสูงได้ เนื่องจากมีการขาดช่วงต่อในคนรุ่นเบบี้ บูมส์ คืออายุระหว่าง 43-60 ปี รวมถึงประสบการณ์การทำงาน การตัดสินใจ ประกอบกับกลุ่มพนักงานรุ่นใหม่ (gen-Y) คือคนที่อายุต่ำกว่า 30 ปีลงไปจนถึงปริญญาตรี เริ่มมีปัญหามากขึ้น
เพราะคนเหล่านี้จบการศึกษามาแบบแคระแกร็น ซึ่งแทบไม่มีความสามารถในการทำงานเลย รวมทั้งทัศนคติต่อการทำงานยังมองเรื่องเงินและสวัสดิการเป็นปัจจัยหลัก "กุลส์ชานห์น ซิงห์" บอกว่า กลุ่มพนักงานรุ่นใหม่มีอยู่ประมาณ 18-29% ขององค์กรทั้งหมดที่อยู่ในประเทศไทยฉะนั้นต่อปัญหาเรื่องการขาดแคลนผู้นำองค์กร จึงกลายเป็นปัญหาสำคัญ ยิ่งเฉพาะต่อประเทศสิงคโปร์ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รวมถึงประเทศไทยในอนาคตด้วยผลเช่นนี้เองจึงทำให้ "บุปผาวดี โอวรารินทร์" ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (เอเชีย) บริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) จำกัด จึงมองเสริมว่า ตอนนี้กลุ่มตำแหน่งหลักๆ ในการขับเคลื่อนองค์กรกำลังประสบปัญหา ทั้งในเรื่องของการสรรหาคนมานั่งประจำองค์กรและการรักษาคนเก่ง คนดีซึ่งเรื่องนี้สามารถมองได้หลายมุม มุมหนึ่งเป็นมุมของนายจ้างที่มองว่าการที่มีคนอยากมาทำงานกับองค์กรของตนเป็นเพราะองค์กรของตนจ่ายผลตอบแทนสูง มีโอกาสแสดงความสามารถ แต่ในอีกมุมหนึ่ง หากองค์กรใดมีธรรมชาติองค์กรที่ไม่ดี ทำงานแล้วไม่มีความมั่นคง หรือไม่มีการโปรโมตก็ไม่มีใครอยากทำด้วยที่สำคัญคนที่ลาออกส่วนใหญ่มักมองเรื่องเงินเดือน เรื่องของความเครียด และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง และจากข้อมูลที่สำรวจ ปรากฏว่าประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลี และมาเลเซีย ค่อนข้างมีความกดดันในการทำงานสูงแต่กระนั้นในเรื่องของทิศทางของเงินเดือน ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักต่อการทำงานของพนักงาน ทุกคน "กุลส์ชานห์น ซิงห์" ก็มองจากข้อมูลที่ เฮวิทสำรวจจาก 120 บริษัท ในประเทศไทย และบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ก็พบข้อมูลว่าในปี 2008 ภาพรวมของเงินเดือนขององค์กรทั้งหมดในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 6.3% โดยแบ่งเป็นผู้บริหารระดับต้นถึงกลางขึ้นประมาณ 6.7% ผู้บริหารระดับกลางถึงสูง ประมาณ 6.3% ทั้งนั้นขึ้นกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศด้วย นอกจากนั้น "กุลส์ชานห์น ซิงห์" ยังระบุข้อมูลของเฮวิทที่เกี่ยวเนื่องกับเงินเดือนของกลุ่ม ธุรกิจต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2008 ว่า กลุ่มธุรกิจที่เงินเดือนขึ้นสูงสุดคือกลุ่มธุรกิจไอที คือประมาณ 7.4% กลุ่มธุรกิจคอนซูเมอร์ 7.2% กลุ่มธุรกิจรถยนต์ 6.9% กลุ่มธุรกิจการเงินการธนาคาร 5.8% กลุ่มธุรกิจสิ่งพิมพ์ประมาณ 6% โดยเฉลี่ยทุกๆ องค์กรในประเทศไทยจะได้รับโบนัสในต้นปี 2008 ประมาณ 1 เดือนเป็นอย่างต่ำ ซึ่งไปสอดคล้องกับข้อมูลที่ "บุปผาวดี" จากบริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) สำรวจทิศทางของเงินเดือนในปี 2008 ที่สำรวจจาก 996 บริษัท 22 ประเทศ จากทั้งหมด 5 ทวีป ปรากฏว่าทิศทางของเงินเดือนในเอเชีย-แปซิฟิก พนักงานในองค์กรต่างๆ จะมีเงินเดือนเพิ่มขึ้นประมาณ 5%แคนาดา 3% ยุโรป 3% ละตินอเมริกา 4.5% และอเมริกาประมาณ 4.6% ซึ่งทั้งหมดนี้ ข้อมูลจากการสำรวจชี้ชัดว่าเงินเดือนที่จ่ายให้กับ พนักงานในองค์กรต่างๆ ในโลกนั้นจะจ่ายตาม
ความสามารถของพนักงานมากที่สุดผลเช่นนี้เองจึงทำให้มนุษย์ทองคำ HR ที่ทำงานให้กับองค์กรในประเทศและองค์กรข้ามชาติในปี 2008 จึงมีค่าตัวที่ค่อนข้างกระโดด เพราะจากข้อมูลที่ "บุปผาวดี" ของวัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) ระบุอย่างคร่าวๆ ว่า ค่าตัวของผู้อำนวยการฝ่าย HR สำหรับองค์กรในไทยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาท/เดือน ส่วนผู้อำนวยการฝ่าย HR ขององค์กรต่างชาติน่าจะอยู่ที่ประมาณ 240,000 บาท/เดือน ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลฝ่าย HR ขององค์กรต่างชาติน่าจะอยู่ที่ประมาณ 500,000 บาท/เดือน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง
ฉะนั้นแนวโน้มและทิศทางในการบริหารพัฒนาบุคลากรและองค์กรในปี 2008 จึงเป็นแนวโน้มและทิศทางที่น่าสนใจสำหรับองค์กรในประเทศและองค์กรต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยแต่ทั้งนั้นคงขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยว่า เมื่อมีรัฐบาลใหม่ในปี 2008 จริงๆ แล้วเขาจะบริหารบ้านเมืองให้ไปในทิศทางอย่างที่มีการสำรวจกันจริงๆ หรือเปล่าคงต้องมาดูกันอีกที ?

ไม่มีความคิดเห็น: